พิสูจน์ข่าวเท็จด้วยการอ่านให้จบ

มีคำกล่าวว่า “ในยุคที่ทุกคนพากันพูดโกหก การพูดความจริงคือการปฎิวัติ” สะท้อนภาพของการนำเสนอข่าวทางสื่อออนไลน์ได้ชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ พบว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาการระบาดใหญ่ของโควิด-๑๙ มีการนำเสนอข่าวเท็จเกี่ยวกับการติดเชื้อมากมาย สร้างความสับสนให้กับประชาชนที่ต้องการความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค การป้องกันข่าวเท็จทำได้ง่าย อยู่ที่ตัวผู้ใช้สื่อเอง ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจธรรมชาติของข่าวเท็จว่ามักจะพาดหัวข่าวเกินจริงหรือกำกวมเพื่อปั่นกระแสหวือหวาให้ผู้อ่านคลิกเข้าไปอ่าน สิ่งที่เราทำได้คือข้ามข่าวนั้นไป หรือหากคลิกเข้าไปแล้วก็ต้องอ่านให้จบ เมื่ออ่านจบแล้วยังไม่แน่ใจ ให้ตรวจสอบตามขั้นตอนข้างล่างนี้ อย่างน้อยเราจะไม่ตกเป็นเหยื่อข่าวเท็จ เพราะเราอ่านหนังสือไม่เกิน ๘ บรรทัด

วิธีตรวจสอบ

  1. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้เขียนบทความ
  2. ตรวจสอบวันที่ในข่าวเพื่อป้องกันการทำข่าวเก่ามาเล่าใหม่
  3. ตรวจสอบแหล่งข่าวที่อ้างถึงในเนื้อหา
  4. อ่านเนื้อหาอย่างละเอียดรอบคอบ โดยเปรียบเทียบเนื้อหาจากแหล่งอื่นที่น่าเชื่อถือ
  5. ไม่อ่านเฉพาะพาดหัวข่าว
  6. ประเมินความเชื่อเดิมของตัวเองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเชื่อข่าว
  7. สอบถามผู้เชี่ยวชาญที่มีความเข้าใจและสามารถยืนยันเนื้อหาที่ปรากฏในข่าวได้

ที่มา How To Spot Fake News: the International Federation of Library Associations and Institutions

#DigiFamAwards #DigiFamAwards๒ #เสพสื่อใช้สติมีสไตล์ให้สตรอง #healthydigitalfamily #ResetMindset #เข้าใจใช้เป็นเห็นรอบ #ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์